การดูแลสุขภาพ

     1. ผู้ดูแลด้านอาหารเด็กปฐมวัยวางแผนรายการอาหารประจำเดือนตามหลักโภชนาการและมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย แห่งชาติ พ.ศ. 2561
     2. คุณครูจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขนิสัยการกินที่ดีให้กับเด็ก
     3. คุณครูชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงบันทึกกราฟการเจริญเติบโต และรายงานผลต่อทีมบริหารแลtผู้ปกครองทุก 1 เดือน
     4. ทีมอาจารย์พยาบาลประเมินปัญหาและส่งเสริมโภชนาการรายบุคคลทุก 1 เดือน เช่น การแพ้อาหารน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
     5. ทีมอาจารย์พยาบาลจัดอบรมให้ความรู้คุณครูเกี่ยวกับการสร้างเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

     1. คุณครูดำเนินการตามแผนจัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ตามหลักสูตรกำหนด
     2. คุณครูร่วมกับทีมอาจารย์พยาบาลติดตามประเมินพัฒนาการเด็กทุก 3 เดือน
     3. โรงเรียนวางแผนร่วมกับครอบครัวในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตลอดหลักสูตร
     4. ทีมอาจารย์พยาบาลจัดอบรมให้ความรู้คุณครูเกี่ยวกับการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

     1. คุณครูตรวจสุขภาพอนามัยและร่องรอยการบาดเจ็บประจำวัน (ก่อนรับเข้า และ ก่อนส่งกลับบ้านแต่ละวัน)
     2. คุณครูบันทึกและรายงานสรุปปัญหาสุขภาพอนามัยแต่ละวันต่อทีมบริหาร
     3. ทีมอาจารย์พยาบาลตรวจสุขภาพเด็ก ตรวจสอบการรับวัคซีนของเด็กแต่ละคนเดือนละ 1 ครั้งและแจ้งผลต่อทีมบริหาร
     4. โรงเรียนจัดให้เด็กได้ตรวจสุขภาพโดยกุมารแพทย์และทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
     5. คุณครูและบุคลากร ครอบครัวปฏิบัติตามคู่มือมาตรการป้องกันโรคติดต่อโรคติดเชื้อที่พบบ่อย เช่น การงดมาโรงเรียนกรณีสงสัยเด็กมีการติดเชื้อ
     6. ทีมอาจารย์พยาบาลตรวจคัดกรองและสอบสวนโรคเมื่อมีสถานการณ์โรคติดต่อ โรคติดเชื้อในโรงเรียน
     7. คุณครู บุคลากรเข้ารับการพัฒนาความรู้และทักษะการป้องกันจัดการโรคติดต่อโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็กปฐมวัย

     1. โรงเรียนจัดให้มียาและเวชภัณฑ์สามัญประจำบ้านและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น
     2. โรงเรียนจัดพื้นที่สำหรับกรณีมีเด็กป่วยฉุกเฉิน
     3. โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการกรณีเด็กป่วยฉุกเฉิน
     4. ทีมอาจารย์พยาบาลจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่คุณครูและผู้ที่เกี่ยวข้องฝึกทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเด็กปฐมวัยเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน
     5. โรงเรียนจัดอบรมการปฐมพยาบาลและฝึกช่วยชีวิตเบื้องต้น (CPR) แก่คุณครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยทีมแพทย์/หรือพยาบาลเฉพาะทาง

     1. โรงเรียนจัดบริเวณห้องน้า ห้องส้วม ที่แปรงฟัน/ล้างมือเพียงพอ สะอาด ปลอดภัย และเหมาะสมกับการใช้งานของเด็ก
     2. โรงเรียนจัดระบบและกำหนดผู้รับผิดชอบการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมและกำกับติดตามดูแลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
     3. โรงเรียนจัดให้มีระบบรับเหตุฉุกเฉิน ป้องกันอัคคีภัยเช่น ฝึกซ้อมแผนอพยพให้กับบุคลากรและเด็กทุกคนเสมือนเกิดเหตุจริงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง